ภูมิแพ้ อาหารแฝง (Food Intolerance Test/Food IgG)
ธรรมชาติได้สร้างให้ร่างกายมนุษย์มีเซลล์ภูมิต้านทานต่อต้านเชื้อโรคต่างๆได้ตั้งแต่แรก แรกคลอด ตอนอยู่ในครรภ์อาศัยภูมิต้านทานแม่คอยปกป้อง แต่เมื่อคลอดทารก ต้องสร้างภูมิต้านทานด้วยตนเองบ้าง คนสร้างภูมิต้านทานได้ไม่สมดุล ก็จะก่อให้เกิดโรคชนิดต่าง ๆ
เราคุ้นเคยกับโรคภูมิแพ้เป็นอย่างดี แต่ถ้าพูดถึงการแพ้อาหาร เราก็จะนึกถึงผู้ป่วย ที่มีอาการทางด้านระบบทางเดินหายใจหอบหืด ผู้ที่แพ้อาหารแล้วเป็นผื่นตามตัว หรือบางครั้ง ผู้ที่แพ้ถึงแก่ชีวิต เนื่องจากเกิดอาการช็อก อาการแพ้อาหารแบบนี้เรียกว่า การแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน ร่างกายสร้างแอนติบอดีชนิด IgE ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารอย่างรุนแรง
แต่การแพ้อาหารแบบ แฝง ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ชนิด IgG ซึ่งจะทำปฎิกิริยากับอาหารที่แพ้ ปฏิกิริยานี้จะไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติอะไร ปัญหาอยู่ที่บางครั้ง แอนติบอดี้ IgG ที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นหันกลับมาทําลายเนื้อเยื่อของร่างกายเราเอง เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเนื้อเยื่อนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม เหตุการณ์นี้จะแบบค่อยเป็นค่อยไป ทีละน้อย และ ตรายที่เรายังบริโภคอาหารร่างกายเราต่อต้านอยู่ IgG ก็จะถูกสร้างขึ้นมาตลอดเวลา ยิ่งบริโภคมาก IgG ก็ยิ่งมาก การทำงานของเนื้อเยื่อ ก็ยิ่งมากขึ้น นานๆไป เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายมากขึ้น การทำงานของอวัยวะนั้นๆ ก็จะเริ่มเสีย และปรากฏ อาการของโรคขึ้น โดยที่เราไม่รู้ว่าโรคนั้นเกิดจากสาเหตุใด
ภูมิแพ้ อาหารแบบแอบแฝง เกิดขึ้นได้อย่างไร
• เกิดจากกรรมพันธุ์จากการที่ร่างกายมีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันสูงต่ออาหารบางชนิด
• เกิดจากการที่ร่างกายมีระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ทั้งในแง่ของระบบภูมิคุ้มกัน ของทางเดินอาหารที่ไม่แข็งแรง ระบบย่อยอาหารไม่มี
ประสิทธิภาพ ระบบการดูดซึม อาหารผิดปกติ เนื่องจากเยื่อบุผนังไม่แข็งแรง ทำให้การดูดซึมอาหารผ่าน ผนังลำไส้มากผิดปกติ Intestinal Hyper-permeability or Leaky Gut ทำให้อาหาร ที่ยังย่อยไม่หมด โดยเฉพาะโปรตีนที่ถูกย่อยไม่สมบูรณ์ ขนาดใหญ่ถูกดูดซึม เข้าไป ทําให้เป็นสารแปลกปลอมจากภายนอกร่างกายที่สามารถกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันทําให้เกิดการแพ้ได้
• ภาวะเสียสมดุลของจุลชีพในลำไส้ โดยปกติในลำไส้เราจะมีจุลชีพอยู่ 3 อย่าง คือ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ แบคทีเรียก่อเกิดโรค และ ยีสต์ ถ้ามีการลดปริมาณ ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ เช่น ในคนที่ทานยาฆ่าเชื้อเป็นประจํา ทำให้เชื้อ แบคทีเรียที่ดีตายและลดปริมาณลง แต่ยีสต์กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นในลำไส้ ทําให้เยื่อบุสําไส้รั่ว อาหารบางชนิดถูกดูดซึมเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทําให้เกิดอาการแพ้ได้
อาการที่อาจ เกิดจาก Food Intolerance (Food IgG)
• ระบบประสาท
• ไมเกรน ปวดหัว การด้อยค่าความเข้มข้นของการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอารมณ์ซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเมื่อยล้า และสมาธิสั้น
• ระบบทางเดินหายใจ
โรคจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ และโรคหอบหืด
• ระบบกล้ามเนื้อ
• โรคไขข้อ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ และความอ่อนแอ
• ระบบทางเดินอาหาร
อาเจียน ท้องตะคริว ลมมากเกินไป คลื่นไส้ ท้องผูก ท้องเสีย ปัญหาการควบคุมน้ำหนัก และอาการจุกเสียด
• ผิวหนัง
ลมพิษ ผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ กลาก ผื่นคัน และอื่นๆ
การตรวจ Food Intolerance
• ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนตรวจ
• สามารถตรวจหา IgG ในอาหารได้ถึง 221 ชนิด แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม
• ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
• ปลา/อาหารทะเล
• ผลไม้
• ธัญพืช
• สมุนไพร และเครื่องเทศ
• เนื้อสัตว์
• พืชตระกูลถั่ว
• ผัก และอื่นๆ
วัดระดับ igG ค่าเป็นตัวเลขบ่งบอกความแรงของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
ผลการทดสอบ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
• ELEVATED ร่างกายมีปฎิกิริยา ต่ออาหารชนิดนั้น
• BORDERLINE ร่างกายมีภาวะเสี่ยง ที่จะมีปฎิกิริยาต่ออาหารชนิดนั้น
• NORMAL ร่างกายไม่มีปฎิกิริยา ต่ออาหารชนิดนั้น